× close
หน้าหลัก
ประวัติความเป็นมา สภาพทั่วไป ผังโครงสร้างหน่วยงาน วิสัยทัศน์-พันธกิจ อำนาจหน้าที่ ข้อมูลการติดต่อ
ผู้บริหาร สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กองสวัสดิการสังคม
ประกาศ/คำสั่ง ประกาศสอบ/รับสมัครงาน ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรม จดหมายข่าว แผ่นพับ-วารสาร
OIT ประจำปี 2567 OIT ประจำปี 2568
ถาม-ตอบ เว็บบอร์ด Social Network นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ระบบรับฟังความคิดเห็นประชาชน ระบบสำรวจความพึงพอใจ ระบบสายด่วนผู้บริหาร
ข้อบัญญัติ แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี แผนอัตรากำลัง 3 ปี แผนพัฒนาบุคลากร 3 ปี แผนการตรวจสอบภายในประจำปี แผนเทคโนโลยีสารสนเทศแม่บท แผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี
นโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แผนดำเนินงานประจำปี รายงานการกากับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ รายงานการจัดการสารสนเทศ
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดหาพัสดุ ราคากลาง eGP ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง eGP รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน รายงานการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานการรับจ่ายเงินประจำเดือน รายงานการรับจ่ายเงินรายไตรมาส รายงานการรับจ่ายเงินประจำปี ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษี ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขับเคลื่อนจริยธรรม การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ประกาศ/คำสั่งสภาฯ รายงานการประชุมสภาฯ ข่าวกิจกรรมสภาฯ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง ขอความรับการสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ขอรับการรับการสนับสนุนรถกระเช้า ขอรับการรับการสนับสนุนรถดับเพลิง ขอรับการสนับสนุนเต้นท์ ขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ ขอรับการสนับสนุนบุคลากร ขออนุญาตใช้อาคารสถานที่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือประชาชน
ประกาศ/คำสั่งสภาฯ รายงานการประชุมสภาฯ ข่าวกิจกรรมสภาฯ
ผลิตภัณฑ์เด่นของตำบล สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดการสารสนเทศ ความรู้ที่สนับสนุน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ขององค์กร ความรู้จากประสบการณ์ที่องค์กรได้สั่งสมมา ความรู้ที่ใช้แก้ไขปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ในปัจจุบัน ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร
ข้อมูลการติดต่อ
☰ Menu
หน้าหลัก

ข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติความเป็นมา สภาพทั่วไป ผังโครงสร้างหน่วยงาน วิสัยทัศน์-พันธกิจ อำนาจหน้าที่ ข้อมูลการติดต่อ

การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล

ถาม-ตอบ เว็บบอร์ด Social Network นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ท้องถิ่นของเรา

ผลิตภัณฑ์เด่นของตำบล สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บุคลากร

คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา หัวหน้าส่วนราชการ สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กองสวัสดิการสังคม

รับฟังความคิดเห็น

ระบบรับฟังความคิดเห็นประชาชน ระบบสำรวจความพึงพอใจ ระบบสายด่วนผู้บริหาร

กิจการสภา

ประกาศ/คำสั่งสภาฯ รายงานการประชุมสภาฯ ข่าวกิจกรรมสภาฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศ/คำสั่ง ประกาศสอบ/รับสมัครงาน ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรม จดหมายข่าว แผ่นพับ-วารสาร

การจัดการความรู้

การจัดการสารสนเทศ ความรู้ที่สนับสนุน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ขององค์กร ความรู้จากประสบการณ์ที่องค์กรได้สั่งสมมา ความรู้ที่ใช้แก้ไขปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ในปัจจุบัน ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร

แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนา

ข้อบัญญัติ แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี แผนอัตรากำลัง 3 ปี แผนพัฒนาบุคลากร 3 ปี แผนการตรวจสอบภายในประจำปี แผนเทคโนโลยีสารสนเทศแม่บท แผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี

การบริหาร/พัฒนาทรัพยากรบุคคล

นโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี

การบริหารงาน

แผนดำเนินงานประจำปี รายงานการกากับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ รายงานการจัดการสารสนเทศ

การส่งเสริมความโปร่งใส

แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

การจัดซื้อจัดจ้าง

แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดหาพัสดุ ราคากลาง eGP ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง eGP รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน รายงานการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี

การเงินการคลัง

แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานการรับจ่ายเงินประจำเดือน รายงานการรับจ่ายเงินรายไตรมาส รายงานการรับจ่ายเงินประจำปี ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษี ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

นโยบาย No Gift Policy

ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขับเคลื่อนจริยธรรม การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

ร้องเรียนร้องทุกข์

ระบบรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ระบบรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต ระบบรับเรื่องร้องเรียนการบริหารทรัพยากรบุคคล

การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ OIT

OIT ประจำปี 2567 OIT ประจำปี 2568

e-Service

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง ขอความรับการสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ขอรับการรับการสนับสนุนรถกระเช้า ขอรับการรับการสนับสนุนรถดับเพลิง ขอรับการสนับสนุนเต้นท์ ขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ ขอรับการสนับสนุนบุคลากร ขออนุญาตใช้อาคารสถานที่

คู่มือสำหรับประชาชน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือประชาชน
หน้าหลัก ประจำปี 2568 ประจำปี 2568 ความพึงพอใจ
Hot News :
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างโครงการก่อสร้างถนน คสล.หมู่ที่16 บ้านนากระแซง ซอยโนนหว่าน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างโครงการก่อสร้างถนน คสล.หมู่ที่10 บ้านหนองไฮ(หนองไฮ-โคกสว่าง)ช่วงที่3 โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง เรื่อง ประกาศใช้แผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2569 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4)
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างโครงการขยายไหล่ทางถนน คสล.หมู่ที่14 บ้านป่าติ้ว สายป่าติ้ว-บ้านหนองเงินฮ้อยโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างโครงการขยายไหล่ทางถนน คสล.หมู่ที่11 บ้านอุดมพัฒนา สายอุดมพัฒนา-กะแอกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
slide 25 to 30 of 7
slide 35 to 40 of 31
สายด่วนผู้บริหาร
รับฟังความคิดเห็นประชาชน
ร้องเรียนร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริต
ร้องเรียนการบริหารทรัพยากรบุคคล
e-Service บริการออนไลน์
ถามตอบ Q&A
สำรวจความพึงพอใจ
ผู้รับเบียยังชีพ
ประเมินภาษีท้องถิ่น
ทะเบียนพาณิชย์
ขออนุญาตก่อสร้าง
คู่มือประชาชน
อำนาจหน้าที่
ข้อมูลการติดต่อ

ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไป

[ 1 กรกฎาคม 2566 ]

       องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เป็นองค์ปกครองท้องถิ่น 1 ใน 17 องค์กรปกครองท้องถิ่น ในเขตปกครองของ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตำบลนากระแซงในอดีต ขึ้นกับ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2526 ได้แยกออกมาตั้งเป็น ตำบลนากระแซง ปัจจุบันตำบลนากระแซง มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งสิ้น จำนวน 16 หมู่บ้าน ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของอำเภอเดชอุดม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดม ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีเนืื้อที่ประมาณ 96.60 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 16 หมู่บ้าน

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสมสะอาด อำเภอเดชอุดม และตำบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะภูมิเทศ

      ลักษณะภูมิประเทศของตำบลนากระแซง มีภาพพื้นที่ ทั่วไป เป็นที่ราบสูงอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการทำนา และการเกษตรอื่นๆ

ลักษณะภูมิอากาศ

      ลักษณะภูมิอากาศของตำบลนากระแซง มีลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ได้แก่

  • ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม

ลักษณะของดิน

      สภาพทั่วไปของดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ประกอบด้วยทราย 60% ดินร่วน 40% เหมาะกับการทำการเกษตร

ลักษณะของแหล่งน้ำ

      พื้นที่รับผิดชอบตำบลนากระแซง มีลำห้วย หนองน้ำ คลองบึง ไหลผ่านแบ่งเป็นสายสำคัญ ดังนี้

แหล่งน้ำตามธรรมชาติ

  1. ห้วยข้าวสาร ตั้งอยู่ที่ บ้านเตย หมู่ 8 มีฝายคอนกรีต ขนาดสันฝายยาว 20.00 เมตร สูง 3 เมตร ความยาว อาคารตามลำน้ำประมาณ 58 เมตร ความจุ ต้นฤดูแล้ง ประมาณ 153,800 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค เสริมการเพาะปลูกฤดูแล้ง มีพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ประมาณ 750 ไร่ ประมาณ 60 ครัวเรือน
  2. ห้วยส้มโฮง ตั้งอยู่ที่ บ้านนากระแซง หมู่ 1 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 5,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 150,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 65 ไร่
  3. ห้วยพาก ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนกลาง หมู่9 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 3,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 90,600 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 40 ไร่
  4. ห้วยดวน ตั้งอยู่ที่ บ้านคำประเสริฐ หมู่ 12 ฝายคอนกรีต ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 3,500 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 105,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 38 ไร่
  5. ห้วยบก ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 5,500 เมตร ลึก 3.00 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 231,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลุกเฉลี่ยประมาณ 63 ไร่
  6. ห้วยร่องวัวตาย ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนสวาง หมู่ 4 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 4,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 120,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 25 ไร่
  7. ห้วยเต่างอย ตั้งอยู่ที่ บ้านไทยวัฒนา หมู่ 3 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 6,700 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 201,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 57 ไร่
  8. ห้วยอาราง ตั้งอยู่ที่ บ้านหม้อทอง หมู่ 6 ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 6,500 เมตร ลึก 3.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 409,500 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 80 ไร่

แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น

  1. หนองใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนากระแซง หมู่ 13 ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 120 เมตร ลึก 4.50 เมตร ปริมาณความจุ 27,000 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านนากระแซง หมู่ 13 บ้านนากระแซง หมู่ 2 บ้านนากระแซง หมู่ 1
  2. หนองน้ำบ้านหนองแต้ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองแต้ หมู่ 5 ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 100 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 17,500 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านหนองแต้ หมู่ 5
  3. หนองน้ำบ้านหม้อทอง ตั้งอยู่ที่ บ้านหม้อทอง หมู่ 6 ขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 200 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 84,000 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านหม้อทอง หมู่ 6
  4. หนองทับควายบ้านนากระแซง ตั้งอยู่ที่ บ้านนากระแซง หมู่ 16 ขนาดกว้าง 75 เมตร ยาว 210 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 55,125 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด และปลูกพืชฤดูแล้ง ประชากรที่ได้รับประโยชน ในการใช้น้ำ บ้านนากระแซง หมู่ 16
  5. หนองน้ำบ้านหนองเงินฮ้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 120 เมตร ลึก 2.00 เมตรปริมาณความจุ 16,800 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืดและปลูกพืชฤดูแล้ง ประชากรที่ได้รับประโยชน ในการใช้น้ำ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7

ลักษณะของไม้/ป่าไม้

      ป่าไม้ในเขตพื้นที่ตำบลนากระแซง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น แบบป่าโปร่งผสม ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่น้อย ไม่สามารถนำมาเป็นผลผลิต หรือสร้างรายได้แก่ประชาชนได้

เขตการปกครอง

      เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 16 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 16 หมู่บ้าน

เขตการเลือกตั้ง

      การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 16 หมู่บ้าน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 17 หน่วยเลือกตั้ง (เนื่องจากหมู่ที่ 7 มีประชากรหนาแน่นได้แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขตเลือกตั้งใน 1 หมู่บ้าน)

ประชากร

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 13,548 คน แยกเป็น ชาย 6,792 หญิง 6,756 คน มีจำนวนหลังคาเรือน ทั้งสิ้น 4,291 หลังคาเรือน ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง ครัวเรือน
1 บ้านนากระแซง 468 436 281
2 บ้านนากระแซง 438 439 283
3 บ้านไทยวัฒนา 631 583 435
4 บ้านโนนสวาง 399 403 227
5 บ้านหนองแต้ 557 595 361
6 บ้านหม้อทอง 509 498 360
7 บ้านหนองเงินฮ้อย 736 719 497
8 บ้านเตย 528 571 371
9 บ้านดอนกลาง 657 674 328
10 บ้านหนองไฮ 413 229 254
11 บ้านอุดมพัฒนา 242 226 206
12 บ้านคำประเสริฐ 208 191 87
13 บ้านนากระแซง 414 401 245
14 บ้านไร่ศรีสุข 221 200 152
15 บ้านป่าติ้ว 151 131 80
16 บ้านนากระแซง 220 244 124

      ที่มา : ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนราษฎร์ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ณ วันที่ 30 กันยายน 2559

การศึกษา

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มี โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 9 แห่ง ดังนี้

  1. โรงเรียนบ้านนากระแซง
  2. โรงเรียนพิชัยศึกษา
  3. โรงเรียนบ้านโนนสวาง
  4. โรงเรียนบ้านหนองแต้
  5. โรงเรียนบ้านหม้อทอง
  6. โรงเรียนบ้านหนองเงินฮ้อย
  7. โรงเรียนบ้านเตย
  8. โรงเรียนบ้านดอนกลาง
  9. โรงเรียนบ้านหนองไฮ

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มี โรงเรียนมัธยมศึกษาศึกษา จำนวน 1 แห่ง ดังนี้

  1. โรงเรียนนากระแซงศึกษา

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 4 แห่ง ดังนี้

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองเงินฮ้อย
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองไฮ
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านนากระแซง
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองแต้

การสาธารณสุข

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีหน่วยพยาบาล ที่ให้บริการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากระแซง หมู่ที่ 1
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเงินฮ้อย หมู่ที่ 7

อาญากรรม

      ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีสถิติการเกิดเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับที่ดี

การสังคมสงเคราะห์

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซงได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

  1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
  2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
  4. ตั้งโครงการฝึกอาชีพแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
  5. ตั้งโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ
  6. ตั้งโครงการสานสัมพันธ์ในครอบครัว
  7. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน

การคมนาคมขนส่ง

      ถนนทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย - เดชอุดม, ถนนทางหลวงชนบท, นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสายย่อยๆ ในพื้นที่อีกหลายสาย อาทิ

  1. ถนนบ้านนากระแซง หมู่ 1 – บ้านป่าโมง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 13 กม. ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ชาวบ้านตำบลนากระแซง ตำบลนาเจริญ ตำบลป่าโมง
  2. ถนนบ้านนากระแซง หมู่ 16 – บ้านสี่แยก ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 4,500 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านนากระแซง หมู่ 16 - บ้านสี่แยก ตำบลนาเจริญ
  3. ถนนบ้านนากระแซง หมู่ 2 – บ้านหนองไฮ หมู่ 10 ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 4,500 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านนากระแซง หมู่ 2 บ้านโนนสวาง หมู่ 4 บ้านดอนกลาง หมู่ 9 บ้านหนองไฮ หมู่ 10 (ทางเชื่อมระหว่างตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม ถึงตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง)
  4. ถนนบ้านนากระแซง หมู่13 – บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 4,800 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านนากระแซง หมู่ 13 – บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7

ไฟฟ้า

      ปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน จำนวน 16 หมู่บ้าน คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาที่มีในพื้นที่คือไฟฟ้าส่องสว่างตามทางสาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด

การประปา

      ปัจจุบันในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีระบบประปาหมู่บ้าน ใช้ครอบคลุมทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มีปัญหา คือ การไหลของน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในการอุปโภค บริโภค

โทรศัพท์

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ จำนวน 10 แห่ง

การเกษตร

      ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร อาทิ ทำนา สวนฟักทอง สวนพริก สวนข้าวโพด ฯลฯ เพื่อเศรษฐกิจ อาทิ ข้าว ฟักทอง พริก ข่าวโพด ปอ ไม้ผล ไม้ยืนต้น

  1. ปลูกข้าวนาปี พันธุ์ กข 15, กข 105
  2. ปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น เดือน พฤศจิกายน – มิถุนายน ของทุกปี เช่น ฟักทอง, พริก,ข้าวโพด

การบริการ

  1. ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง
  2. ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 41 แห่ง

กลุ่มอาชีพ

  1. กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าบ้านไทยวัฒนา หมู่ที่ 3 (ตัดเย็บเสื้อผ้า)
  2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 (จักสาน /ทอเสื่อ/หวด)
  3. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหม้อทอง หมู่ที่ 6 (แปรรูปข้าวกล้องงอก)
  4. กลุ่มแม่บ้านเพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 (ทอผ้าแพรขิดและทอเสื่อ)
  5. กลุ่มพัฒนาอาชีพตรี หมู่ที่ 9 (ทอผ้าห่มไหมพรม/ทอเสื่อปิกนิ๊กและสวิง)
  6. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
  7. กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อหนองไฮ หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
  8. กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรี หมู่ที่ 13 (ทอผ้าซิ่น/ผ้าขาวม้า)
  9. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 16 (ผลิตทอเสื่อกก/หวด)

การศาสนา

      ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง มีผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98

  1. วัด จำนวน. 14 แห่ง
  2. ที่พกสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง
  3. โบสถ์ (คริสต์) จำนวน 1 แห่ง

ประเพณี

  1. เดือนห้า-สงกรานต์
  2. เดือนหก-บุญบั้งไฟ
  3. เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ
  4. เดือนสี่-บุญเผวส
  5. เดือนหก-บุญบั้งไฟ
  6. เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ
  7. เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา
  8. เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน
  9. เดือนสิบ-บุญข้าวสาก
  10. เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา
  11. เดือนสิบสอง-บุญกฐิน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น

      ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ ได้แก่ การทำเครื่องจักรสาน การทอผ้าไหม ทอผ้ากาบบัว หมอพราหมณ์ ศิลปะดนตรี (หมอแคน หมอลำ)

      ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาอีสาน (ลาว)

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

      ได้แก่ ผ้ากาบบัว การทอผ้ากาบบัว การทอผ้าห่ม การทอเสื่อ การทำเครื่องจักสาน ประกอบด้วย

  1. กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าบ้านไทยวัฒนา หมู่ที่ 3 (ตัดเย็บเสื้อผ้า)
  2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 (จักสาน /ทอเสื่อ/หวด)
  3. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหม้อทอง หมู่ที่ 6 (แปรรูปข้าวกล้องงอก)
  4. กลุ่มแม่บ้านเพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 (ทอผ้าแพรขิดและทอเสื่อ)
  5. กลุ่มพัฒนาอาชีพตรี หมู่ที่ 9 (ทอผ้าห่มไหมพรม /ทอเสื่อปิกนิ๊กและสวิง)
  6. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
  7. กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อหนองไฮ หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)

 

ดูรายละเอียด >>

ผังโครงสร้างหน่วยงาน

[ 2 ธันวาคม 2567 ]

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำข้อมูลผังโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ แก่ผู้สนใจ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้ จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ดูรายละเอียด >>

อำนาจหน้าที่

[ 1 กรกฎาคม 2566 ]

      การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซงจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น

 

      องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537( แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  1. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ มาตรา 67 (1)
  2. ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร มาตรา 68 (1)
  3. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 68 (2)
  4. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ มาตรา 68 (3)
  5. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16 (4)
  6. การสาธารณูปการ มาตรา 16 (5)

 

ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

  1. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ มาตรา 67 (6)
  2. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา 67 (3)
  3. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ มาตรา 68 (4)
  4. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส มาตรา 16 (10)
  5. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย มาตรา 16 (2)
  6. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16 (19)

 

ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

  1. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 67 (4)
  2. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 68 (8)
  3. การผังเมือง มาตรา 68 (13)
  4. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาตรา 16 (17)
  5. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16 (5)

 

ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

  1. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว มาตรา 68 (6)
  2. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ มาตรา 68 (5)
  3. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร มาตรา 68 (7)
  4. ให้มีตลาด มาตรา 68 (10)
  5. การท่องเที่ยว มาตรา 68 (12)
  6. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ มาตรา 68 (11)
  7. การส่งเสริม การฝึกและการประกอบอาชีพ มาตรา 16 (6)

 

ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. การคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 67 (7)
  2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 67 (2)
  3. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ มาตรา 17 (12)

 

ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 67 (8)
  2. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาตรา 67 (5)
  3. การจัดการศึกษา มาตรา 16 (9)
  4. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มาตรา 17 (18)

 

ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
  2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรืบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 67 (9)
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน มาตรา 16 (16)
  4. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 17 (3)
  5. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17 (16)

 

ดูรายละเอียด >>

ถาม-ตอบ Q&A

[ 1 มีนาคม 2564 ]
  • ถาม : เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกวันไหนค่ะ ?
  • ตอบ : ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือนคะ
  • ถาม : ชำระภาษีโรงเรือนช่วงพักเที่ยงได้ไหมครับ ?
  • ตอบ : ได้ค่ะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ไม่พักกลางวันค่ะ
  • ถาม : สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้รึยังค่ะ ?
  • ตอบ : เปิดให้บริการแล้วนะค่ะ
  • ถาม : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Service) คืออะไร ?
  • ตอบ : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ คือ การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหน่วยงานจัดว่าเป็นระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ครอบคลุมถึงการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอกหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร และมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานท่านหรือไม่
ดูรายละเอียด >>
ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

[ 1 กรกฎาคม 2566 ]

ตราสัญลักษณ์

      เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้มี พ่อใหญ่เตีย คำลาจันทร์, พ่อใหญ่พวง พาพะหม, พ่อใหญ่สุข พรมมาโฮม, พ่อใหญ่เมือง พาพะหม, พ่อใหญ่มี ทอนคำผุย ซึ่งเป็นราษฎรอพยพมาจาก บ้านคุ้ม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 5 ครอบครัว ได้มาตั้งบ้านเรือน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองขี้ควาย" โดยชื่อนั้น ได้มาจาก ชื่อของหนองน้ำขนาดใหญ่ "หนองขี้ควาย" ที่ตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้าน เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งควายของชาวบ้าน ที่เลี้ยงไว้ ยังได้แวะพักกินน้ำ พร้อมขับถ่ายมูล รอบบริเวณหนองน้ำจำนวนมาก จึงได้เรียกชื่อหนองน้ำว่า "หนองขี้ควาย" เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีราษฎรจาก อำเภอวารินชำราบ, อำเภอเขื่องใน, อำเภอเมืองอุบลราชธานี, อำเภอพนา ได้อพยพเข้ามาเพิ่มอีก ทำให้หมู่บ้านมีขนาดใหญ่ขึ้น มีประชากรมากขึ้น

      ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2488 ประชากรในหมู่บ้านขณะนั้นมีอยู่ ประมาณ 60 ถึง 70 หลังคาเรือน ทางอำเภอ จึงได้จัดตั้งชุมชนแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านชื่อ "บ้านนากระแซง" หมู่ที่ 11 อยู่ในเขตการปกครองของ ตำบลสมสะอาด โดยเรียกตามชื่อร่องน้ำ "กระแซง" ซึ่งมี "ต้นกระแซง" ขึ้นอยู่ตามร่องน้ำ และเป็นต้นน้ำของลำห้วยแคน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านนากระแซง" จนถึงปัจจุบัน มีผู้ใหญ่บ้านขึ้นเคนแรก คือ นายพร โสมาพิมพ์

      ด้วยลูกหลานจำนวนมากที่ต้องเรียนหนังสือ แต่ต้องเดินทางในการไปโรงเรียนไกลจากหมู่บ้าน จึงได้ขอจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้น ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนบ้านนากระแซง" เมื่อ พ.ศ. 2497 ให้เป็นสาขาของ โรงเรียนบ้านม่วง ตำบลสมสะอาด โดยมี นายบัว กุลเซ็นต์ เป็นครูใหญ่ จึงทำให้ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียน ในโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้าน

      "บ้านนากระแซง" ได้แยกออกจาก ตำบลสมสะอาด, ตำบลทุ่งเทิง, ตำบลหนองอ้ม, และตำบลนาเจริญ ตามลำดับ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงได้แยกออกจาก ตำบลนาเจริญ และจัดตั้งเป็น "ตำบลนากระแซง" มีพื้นที่รับผิดชอบ ประมาณ 96.64 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 16 หมู่บ้าน จนถึงปัจจุบัน

 

  • Click to enlarge image office-01.jpg
  • Click to enlarge image office-02.jpg
  • Click to enlarge image office-03.jpg
  • Click to enlarge image office-04.jpg
  • Click to enlarge image office-05.jpg
  • Click to enlarge image office-06.jpg
  • Click to enlarge image office-07.jpg
  • Click to enlarge image office-08.jpg
  • Click to enlarge image office-09.jpg
  • Click to enlarge image office-10.jpg
  •  
View the embedded image gallery online at:
https://nakrazang.go.th/purechase/itemlist/category/20-about-us#sigProGalleriacd22c458f3

ดูรายละเอียด >>

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

[ 1 กรกฎาคม 2566 ]

     องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติครม.ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต

"เมืองน่าอยู่ เมืองคนดีมีศีลธรรม เมืองไร้มลพิษ มีชีวิตชีวาเมืองนำเกษตรก้าวหน้า ปลอดยาเสพติด"

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (ต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
  2. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  3. การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผน พัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง
  4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม อันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  5. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดี
  6. การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  7. การเพิ่มศักยภาพของผังเมืองให้เป็นเครื่องมือชี้นำและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ

 

เป้าประสงค์ (Goal)

     เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)

  1. การคมนาคมสะดวก
  2. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
  3. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพตามแนวธรรมาภิบาล
  4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
  5. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  6. ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
  7. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  8. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน
  9. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  10. ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือ

 

ดูรายละเอียด >>
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 34160.
โทร. 045-865425 แฟกซ์ 045-865425 Email saraban@nakrazang.go.th
ประชาชน มีภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเอง พอเพียง เป็นสุข
เกี่ยวกับเรา    ติดต่อเรา
ลิขสิทธิ์ © 2023-2024 องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง. ขอสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้. Power by เว็บอุบลดอทคอม